การแข่งขันระดับนานาชาติประเภททีมผสม อีกรายการที่มีการจัดการแข่งขันกันมาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี และสำหรับในครั้งต่อไปจะครบกำหนดจัดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ คือการแข่งขันประเภททีมผสมชิงถ้วย สุธีรมานคัพ
ประวัติถ้วยสุธีรมานคัพ เป็นการแข่งขันแบดมินตันประเภททีมผสม แมตช์สำคัญมากประเภทหนึ่งของโลก จะจัดขึ้นทุกๆ สองปี โดยให้เกียรติใช้ชื่อของ ดิ๊ก สุธีรมาน นักแบดมินตันชาวอินโดนีเซีย ผู้ก่อตั้งสมาคมแบดมินตันอินโดนีเซียขึ้น การแข่งขันจะเป็นการแข่งขันประเภททีมแบ่งเป็น 5 ประเภทได้แก่ ชายเดี่ยว, หญิงเดี่ยว, ชายคู่, หญิงคู่ และคู่ผสม โดยนำทีมที่ชนะเข้ารอบต่อไป การแข่งขันแบดมินตัน สุธีรมานคัพ จัดขึ้นครั้งแรก ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 24 - 29 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2532 และเวียนไปจัดแต่ละประเทศถ้วยสุธีรมานคัพ มีความสูงประมาณ 80 เซนติเมตร มีส่วนผสมของทองคำและเงินอยู่ 92 เปอร์เซ็นต์ ส่วนฐานตัวถ้วยทำมาจากไม้สักอย่างดี ลักษณะถ้วยจะออกแบบให้เหมือนทรงลูกขนไก่ ซึ่งใช้ในการแข่งขัน มีรูปทรงที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวทุก ๆ 2 ปี
|
|
|
การแข่งขัน จะแบ่งการแข่งขัน
ออกเป็น 7 กลุ่ม
จากทุกประเทศ ทุกทวีป ทั่วโลก โดยจะนำทีมที่ 1 ของกลุ่มเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์เข้าไปแข่งขันเพื่อชิงถ้วยสุธีรมานคัพได้
ผลงานที่ผ่านมา
- ครั้งที่ 1 ปี 2532 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียเป็นแชมป์ ชนะ ประเทศเกาหลีใต้ 3-2 ทีม
- ครั้งที่ 2 ปี 2534 ณ กรุงโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก ประเทศเกาหลีใต้เป็นแชมป์ ชนะ ประเทศอินโดนีเซีย 3-2 ทีม
- ครั้งที่ 3 ปี 2536 ณ เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ ประเทศเกาหลีใต้เป็นแชมป์ ชนะ ประเทศอินโดนีเซีย 3-2 ทีม
- ครั้งที่ 4 ปี 2538 ณ เมืองโลว์ซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศจีนเป็นแชมป์ ชนะ ประเทศอินโดนีเซีย 3-1 ทีม
- ครั้งที่ 5 ปี 2540 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสก็อตแลนด์ ประเทศจีนเป็นแชมป์ ชนะ ประเทศเกาหลีใต้ 5-0 ทีม
- ครั้งที่ 6 ปี 2542 ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ประเทศจีนเป็นแชมป์ ชนะ ประเทศเดนมาร์ก 3-1 ทีม
- ครั้งที่ 7 ปี 2544 ณ เมืองเซบียา ประเทศสเปน ประเทศจีนเป็นแชมป์ ชนะ ประเทศอินโดนีเซีย 3-1 ทีม
- ครั้งที่ 8 ปี 2546 ณ เมืองไอนด์โฮเวน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศเกาหลีใต้เป็นแชมป์ ชนะ ประเทศจีน 3-1 ทีม
- ครั้งที่ 9 ปี 2548 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ประเทศจีนเป็นแชมป์ ชนะ ประเทศอินโดนีเซีย 3-0 ทีม
- ครั้งที่ 10 ปี 2550 ณ กลาสโกว์ ประเทศสก็อตแลนด์ ประเทศจีนเป็นแชมป์ ชนะ ประเทศอินโดนีเซีย 3-0 ทีม
- ครั้งที่ 11 ปี 2552 ณ กว่างโจว ประเทศจีน
- ครั้งที่ 12 ปี 2554 ณ เมืองชิงเต่า ประเทศจีน
- ครั้งที่ 13 ปี 2556 ณ กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
- ครั้งที่ 14 ปี 2558 ณ ตงกวน ประเทศจีน วันที่ 18 พฤษภาคม 2558
ปี 2013 (2556)
ซึ่งผลงานของทีมไทยในครั้งนี้ต้องถือว่าทะลุเป้าหมายและทำได้ดีกว่าครั้งที่ผ่านมาในศึก ''สุธีรมาน คัพ 2011'' ที่เมืองชิงเต่า ประเทศจีน เนื่องจากในศึกขนไก่ทีมผสมชิงแชมป์โลก 2013 ทางสหพันธ์แบดมินตันโลกได้คิดคะแนนสะสมของนักกีฬาที่มีอันดับโลกดีที่สุดในแต่ละประเภทของแต่ละชาติมาเป็นเกณฑ์ในการจัดอันดับทีมวางในแต่ละกลุ่ม ซึ่งผลงานของทัพนักตบลูกขนไก่ทีมชาติไทยในแต่ละประเภทต่างอยู่ในอันดับต้นๆ ในทุกประเภท ทำให้ทีมไทยถูกจัดให้เป็นทีมวางของกลุ่ม บี โดยมี อดีต แชมป์ 3 สมัย เกาหลี และ ฮ่องกง ร่วมกลุ่ม ซึ่งทีมไทยสามารถเอาตัวรอดผ่านเข้ารอบมาได้หวุดหวิดเป็นอันดับ 2 ของกลุ่ม ทัพนักตบลูกขนไก่ทีมชาติไทยสามารถสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ผ่านเข้ารอบ 4 ทีมสุดท้ายการแข่งขันแบดมินตันทีมผสมชิงแชมป์โลก 2556 (สุธีรมานคัพ) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
นักกีฬาไทยประกอบด้วย
- มณีพงศ์ จงจิตร
- นิพิฐพนธ์ พวงพั่วเพชร
- บุญศักดิ์ พลสนะ
- รัชนก อินทนนท์
- ณิชชาอร จินดาพล
- กุลชลา วรวิจิตรชัยกุล
- ดวงอนงค์ อรุณเกษร
- สุดเขต ประภากมล
- ภควัฒน์ วิไลลักษณ์
- โฆสิต เพชรประดับ
|
|
- บดินทร์ อิสสระ
- สัพพัญญู อวิหิงสานนท์
- บุษนันท์ อึ้งบำรุงพันธ์
- พรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข
- พุธิตา สุภจิระกุล
- ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย
- จงกลพรรณ กิติธรากุล
- รวินดา ประจงใจ
- สาวิตรี อมิตรพ่าย
- ณิชชาอร จินดาพล
|
การแข่งขันสุธีรมานคัพ 2017 (2560)
สหพันธ์แบดมินตันโลก BWF ลงมติคัดเลือกให้ ออสเตรเลียเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันแบดมินตันสุธีรมานคัพ ครั้งที่ 15 ที่เมือง โกลด์โคสต์ รัฐควีนสแลนด์ของออสเตรเลียในเดือนพฤษภาคม 2560 อย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งทั้งนี้มี 2 ชาติ ที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพมาคือ ออสเตรเลียและ สก็อตแลนด์ หลังจากคณะกรรมการบริหาร BWF ส่งคณะทำงานไปสำรวจความพร้อมของทั้งสองชาติแล้ว จึงสรุปลงมติด้วยเหตุผลที่ว่า เมืองโกลด์โคสต์ของออสเตรเลียจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ “คอมมอนเวลธ์เกมส์” ครั้งที่ 21 ระหว่างวันที่ 4-15 เมษายน 2018 (2561) เป็นตัวเลือกที่เหมาะกว่าและเป็นครั้งแรกที่การแข่งขันถ้วยสุธีรมานคัพไปจัดการแข่งขันในทวีปที่ 3 คือ ทวีปโอเชียเนีย เพราะก่อนหน้านั้นการแข่งขันทั้ง 14 ครั้งจะจัดใน 2 ทวีปคือ เอเชียและยุโรปเท่านั้น
(ดอกปีกไก่)